มองมุมใหม่กับการสอนเด็กทำสื่อรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เครือข่ายครูเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ  “พัฒนาทำสื่อรณรงค์ศักยภาพนักเรียนแกนนำเพื่อการไม่สูบบุหรี่  ในระหว่างวันที่  10 -11 กุมภาพันธ์  2561  ณ ห้องอิงบุรี  โรงแรมพักพิงอิงทางบูติคโฮเทล    มีนักเรียนแกนนำระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2-5  ในโรงเรียนมัธยมในกรุงเทพฯและนนทบุรี  18  โรงเรียนจำนวน  38  คนเข้ารับการอบรม  ครูวันเพ็ญ โรงเรียนวัดอินทารามมีความคาดหวังว่า “นักเรียนม.5  2  คนที่เข้าอบรมจะสามารถกลับไปขยายผลสอนน้องให้สามารถผลิตสื่อรณรงค์เพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ได้ดี”  ครูธีระยุทธ์  จากโรงเรียนบางมดวิทยา  ได้คัดเลือกนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4โปรแกรมคอมพิวเตอร์  เข้ารับการอบรมในครั้งนี้และมีความคาดหวังว่านักเรียนทั้ง 2 คนจะได้รับความรู้และประสบการณ์กลับไปจัดทำสื่อที่น่าสนใจ  เพื่อใช้ในการสื่อสารกับนักเรียนในระดับเดียวกันได้เป็นอย่างดี”         การอบรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะให้เยาวชนมีวิธีคิดใหม่ๆ  เปลี่ยนมุมมองเข้าใจคนสูบบุหรี่มากขึ้น  รู้และสามารถพัฒนาทักษะการสื่อสารเชิงบวกที่มีคุณภาพและสร้างสรรค์  เราได้วิทยากรมือดี 4  คนคือ พี่แจ๊ค  พี่ออฟ  พี่ฝน และพี่ฝ้าย จากมูลนิธิสื่อชาวบ้าน(มะขามป้อม)มาอบรมเด็กๆ

กิจกรรมแรกคือ4 ช่องในดวงใจ เป็นกิจกรรมสนุกๆเพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้ร่วมกัน  โดยให้นักเรียนนั่งเป็นวงกลม  แจกกระดาษA4 พับ เป็น 4 ช่อง วาดหน้าเพื่อนที่มีคุณสมบัติตามที่ปรากฏในช่องทั้ง 4  แล้วเดินไปสัมภาษณ์เพื่อน 4  คนพร้อมทำสัญลักษณ์   กิจกรรมที่ 2 ความคาดหวังของฉัน  เพื่อแลกเปลี่ยนความคาดหวังของผู้เข้าอบรม  นักเรียนจับคู่กันบอกความคาดหวังที่มาเข้าอบรมในครั้งนี้   จากนั้นรวมกลุ่ม 4 คน ทำเช่นเดียวกัน วิทยากรซักถามเพิ่มเติมกิจกรรมที่ 3คือกิจกรรมความเข้าใจใหม่  เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด และสร้างความเข้าใจร่วมกันในเรื่องบุหรี่  โดยนักเรียนจะต้องแสดงความคิดเห็นว่า เห็นด้วย  ไม่เห็นด้วย  หรือไม่แน่ใจในประเด็นเรื่องบุหรี่  และบอกเหตุผลว่าเพราะอะไรจึงคิดเช่นนั้น  เช่น  ประเด็น “ถ้าผู้หญิงสูบบุหรี่  จะดูไม่ดีมากกว่าผู้ชายสูบบุหรี่”กิจกรรมที่ 4ความคิดและความเชื่อ  เพื่อค้นหารากหรือต้นตอของปัญหาบุหรี่โดยแบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ 6 คนระดมสมองว่า  “ภายใต้ภูเขาน้ำแข็งในระดับต่างๆมีอะไรซ่อนอยู่”  นักเรียนจะได้ทราบว่าพฤติกรรมที่แสดงออกของคนสูบบุหรี่เป็นอย่างไร  มีโอกาสแนวโน้มอะไร  ด้วยความคิด ความเชื่ออะไร  ทำให้นักเรียนมีความเข้าใจคนสูบบุหรี่มากขึ้น  หลังอาหารกลางวันเป็นกิจกรรมที่ 5กิจกรรม Image Theatreเพื่อเรียนรู้เรื่ององค์ประกอบภาพฝึกการตีความ ความรู้สึกและความหมายของภาพ นักเรียนได้ฝึกการใช้ร่างกายแสดงท่าทางแปลกๆ  แล้วนักเรียนรวมกลุ่ม 6 คนแสดงพฤติกรรมที่สื่อความหมาย การต่อสู้  ความกลัวสบายใจ  สิ้นหวัง  อิสรภาพ ให้เพื่อนกลุ่มอื่นทาย    กิจกรรมที่ 6 กิจกรรม Creative Photo เพื่อเรียนรู้เทคนิคการถ่ายรูปที่มีความหมายและความรู้สึก  โดยนักเรียนดูภาพแล้วบอกว่าเห็นอะไร  รู้สึกอย่างไร ภาพมีจุดเด่น จุดด้อยอะไร  วิทยากรอธิบายเรื่อง Scene,Colour, Symbol,Light& Shadow, Posture &Gesture  แล้วให้เวลา30 นาทีให้นักเรียนออกไปถ่ายภาพนอกห้องประชุมโดยใช้โทรศัพท์มือถือ เมื่อกลับเข้ามานักเรียนเลือกภาพประเด็นละ 1 ภาพ  แล้วเข้ากลุ่มเลือกภาพที่ดีที่สุดในแต่ละประเด็น  แล้วโพสลง IG  หรือFBจากนั้นกลุ่มได้ระดมสมองใน 4 ประเด็น คือ คน  Action  สถานที่ และสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่เขียนลงตาราง 4 ช่องในกระดาษฟริบชาร์ทกลุ่มเลือกคำที่โดนใจที่สุดจาก4 ประเด็นข้างต้น เขียนเป็นประโยค 1 ประโยค  กลุ่มจะต้องทำการบ้านหลังอาหารเย็นในการไปถ่ายภาพ10 ภาพโดยใช้เทคนิคที่เรียนมาเพื่อสื่อความหมายประโยคที่กลุ่มร่วมกันคิด  ช่วงค่ำประมาณทุ่มครึ่งเป็นกิจกรรมที่ 7กิจกรรมPre Video  กลุ่มเลือกภาพ 5 ภาพจาก10 ภาพ,เรียงลำดับภาพแล้วโพสภาพลงเฟชบุค #โรงเรียนปลอดบุหรี่ทั้ง 6 กลุ่ม ช่วยกันวิจารณ์ภาพ  ก่อนจบการอบรมในวันแรกนักเรียนเขียนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้  เด็กสะท้อนว่า ได้แลกเปลี่ยนความคิด ความรู้สึก  ได้เปิดใจทำสิ่งใหม่ๆที่ไม่เคยทำ  รู้จักรับฟังคนอื่นทำให้เข้าใจเขามากขึ้น  มีมุมมองที่กว้างขึ้น เข้าใจคนสูบบุหรี่มากขึ้น  ได้ฝึกการสื่อสารโดยใช้ภาษากาย  รู้เทคนิคการสื่อสารด้วยภาพ  ดีใจที่ได้ค้นพบตนเอง

วันที่ 2 ของการอบรมเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์งานวิดีโอด้วยตนเอง  ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย 3 กิจกรรมคือ กิจกรรมที่ 8 การสร้างเรื่องอย่างง่าย  เริ่มด้วยการเล่นกิจกรรมแปลงร่าง  นักเรียนรวมกลุ่ม 6 คนแปลงร่างเป็นดอกไม้ 1 ดอก  เป็นดอกไม้บาน  เป็นดอกไม้โดนลมพัด  เป็นดอกไม้เหี่ยว นักเรียนรวมกลุ่มจับฉลาก Location  นรก  สวรรค์  สุสาน  ชายหาด  ตลาด  โรงเรียน  นักเรียนใช้จินตนาการว่าใน 3 ฉากนี้จะเริ่มต้นเปิดเรื่องอย่างไร  ฉากที่2 เป็นClimax ของเรื่องแสดงความขัดแย้ง และฉากที่ 3 เป็นฉากจบที่เหตุการณ์คลี่คลาย เมื่อแสดงจบให้เพื่อนกลุ่มอื่นทาย ต่อไปเป็นกิจกรรมที่ 9 Story  Board นักเรียนรวมกลุ่มกันเรียบเรียงเรื่องราวที่จะสื่อสาร โดยแบ่งเป็น  3 ประเด็น คือ  Idea   Theme   Style  เขียนเป็นStory  Board 3  ช่อง  จากนั้นนักเรียนรวมกลุ่มแบ่งงาน เป็น ผู้กำกับ  ตากล้อง  นักแสดง ออกไปถ่ายวิดีโอใช้เวลา 1 ชั่วโมง  หลังอาหารกลางวันเป็นกิจกรรมที่ 10 ตัดต่อวิดีโอ  วิทยากรอธิบายขั้นตอนการตัดต่อ  ซึ่งจะต้อง Save ไฟล์,  Add VDO,ตามStory  Board  ตัดต่อคลิปตามเวลาที่กำหนด,  เพิ่ม ลด ความดังของเสียง,  ใส่ตัวอักษรเน้นคำพูดของตัวแสดง,  ใส่เทคนิคเชื่อมฉาก, Saveไฟล์ ระบบMP4 HD  เพื่อนำเสนอ  กิจกรรมสุดท้ายเป็นการนำเสนอผลงานการตัดต่อวิดีโอของนักเรียนทั้ง 6 กลุ่ม  คือเรื่องปากไม่ว่าง  วันแรกกับการเลิกบุหรี่  What  ‘s  good?  แล้วคุณจะเลือกแบบไหน   ที่เหลืออีก 2 กลุ่มไม่มีชื่อเรื่อง  ผลงานของนักเรียนได้รับการชื่นชมจากวิทยากร  ผลงานน่าพอใจก็จริงๆ 

จากการสัมภาษณ์น้องอริสรา จากโรงเรียนราชดำริ ตอบว่า  “ได้พัฒนาทักษะมากมายที่จำเป็น  ทั้งทักษะการถ่ายรูป การใช้มุมกล้อง  การใช้แสง  การตัดต่อวีดีโอ การสื่อสารอารมณ์ของภาพ  เป็นความรู้และประสบการณ์ใหม่ที่ประทับใจ  การอบรมครั้งนี้เปลี่ยนแนวคิดที่มีต่อผู้ที่สูบบุหรี่  เข้าใจคนสูบบุหรี่มากขึ้น”  น้องศุภมาศ โรงเรียนศึกษานารีบอกว่า  “รู้สึกมีพลังในการทำงาน  กล้าแสดงออกมากขึ้น  คำพูดของพี่ๆที่ว่า  ”ทุกอย่างไม่มีถูก  ไม่มีผิด  มันโอเคเสมอ”  น้องธีรสิทธิ  จากโรงเรียนโยธินบูรณะ2 เล่าว่า  “ผมมีความสุขที่ได้เจอเพื่อนใหม่ที่รับฟังปัญหาต่างๆ ผมได้เรียนรู้และฝึกทักษะมากมาย ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนๆ เป็นประสบการณ์ที่ผมจะไม่ลืม จะนำไปถ่ายทอดให้เพื่อนๆและน้องๆที่โรงเรียน”  น้องปาณิสรา จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนนทบุรีเล่าว่า  “ที่นี่เหมือนเป็นโลกใหม่ที่ทำให้เราได้เรียนรู้  ทดลอง  และนำไปใช้จริง  ได้เรียนรู้จากการงานที่ผิดพลาด  ไม่สมบูรณ์  แล้วทำให้สมบูรณ์ได้”  น้องภัทราพร จากโรงเรียนศึกษานารีเล่าว่า  “ตลอด 2 วันที่ผ่านมา ทำให้มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เปลี่ยน  โดยส่วนตัวตื่นเต้นและกังวลมากที่จะมาค่ายนี้  เพราะตัดต่อไม่เป็น แต่เมื่อมาถึงค่ายมันต่างจากที่คิดมาก  พี่ๆมะขามป้อมเป็นกันเองให้ความรู้สึกเหมือนเป็นพี่มากกว่าเป็นวิทยากร  การถ่ายทอดความรู้ค่อยเป็นค่อยไป  ผ่านกิจกรรม เกม  เพลง  คลิป จนหนูไม่รู้ว่ามันซึมซับไปตอนไหน เป็นความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เข้าใจคนที่สูบบุหรี่ รู้แล้วว่าเขาต้องการคนที่เข้าใจ และเป็นกำลังใจ ที่จะทำให้เขาไม่พึ่งพาบุหรี่”  น้องวีรศักดิ์  จากโรงเรียนนนทบุรีวิทยาลัยเล่าว่า  “กิจกรรมวันแรกทำให้ได้ใช้วิจารณญาณของตนเอง  ผมพอใจที่ได้มาค่ายนี้ พอใจทั้งอาหาร การบริการ สถานที่อบรม ที่สำคัญที่สุดคือเพื่อน มีความสุขมากและได้ความรู้มากมายจากการแลกเปลี่ยนกับเพื่อนและการได้ทำงานกลุ่ม  ประสบการณ์ของเพื่อนแต่ละคนเป็นประสบการณ์ใหม่ที่ผมได้เรียนรู้นอกเหนือจากที่ได้รับจากวิทยากร”

แต่สิ่งที่เป็นผลลัพธ์ที่สำคัญของการอบรมในครั้งนี้คือการเปลี่ยนแปลงภายในจิตใจผู้รับการอบรม  นักเรียนเข้าใจคนสูบบุหรี่มากขึ้น  มีมุมมองที่เปลี่ยนไปจากเดิม   ซึ่งหมายถึงการทั้งวิธีคิดและพฤติกรรมที่เด็กกลุ่มนี้จะสามารถสัมผัสที่ใจของคนสูบบุหรี่  การสร้างสื่อ  การที่เข้าไปดูแลช่วยเหลือเพื่อน คนรอบข้างที่สูบบุหรี่จะเป็นไปอย่างสร้างสรรค์  อีกไม่นานเกินรอ เราคงได้ได้เห็นผลงานของเด็กกลุ่มนี้ที่จะร่วมสร้างสังคมปลอดบุหรี่ได้เป็นแน่