การดำเนินงานโรงเรียนปลอดบุหรี่

  • กำหนดนโยบาย “โรงเรียนปลอดบุหรี่”

    • จัดทำนโยบายโรงเรียนปลอดบุหรี่เป็นลายลักษณ์อักษร
    • ถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏิบัติ
    • ประชาสัมพันธ์นโยบายผ่านช่องทางที่หลากหลาย
  • บริหารจัดการเพื่อ “โรงเรียนปลอดบุหรี่”

    • จัดตั้งคณะทำงานโรงเรียนปลอดบุหรี่
    • ติดตามผลการดำเนินงานโรงเรียนปลอดบุหรี่
    • สำรวจข้อมูลการสูบบุหรี่ในโรงเรียน
  • จัดสภาพแวดล้อมเพื่อ “โรงเรียนปลอดบุหรี่” ตามกฎหมาย

    • ติดเครื่องหมายห้ามสูบบุหรี่ให้เห็นชัดเจนบริเวณทางเข้าโรงเรียนทุกช่องทาง
    • ไม่มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการสูบบุหรี่ เช่น ที่เขี่ยบุหรี่
    • จัดสภาพแวดล้อมไม่ให้เอื้อต่อการสูบบุหรี่ในโรงเรียน
  • สอดแทรกเรื่องบุหรี่ในการจัดการเรียนรู้

    • วางแผนและกำหนดกิจกรรมสอดแทรกเรื่องบุหรี่ในหลักสูตร
    • วางแผนและกำหนดกิจกรรมเพื่อสอดแทรกเรื่องบุหรี่นอกหลักสูตร
    • เฝ้าระวังไม่ให้มีการสูบบุหรี่ในโรงเรียน
  • การมีส่วนร่วมของนักเรียนเพื่อการขับเคลื่อน “โรงเรียนปลอดบุหรี่”

    • ส่งเสริมให้นักเรียนเฝ้าระวังป้องกันการสูบบุหรี่ ทั้งในและนอกโรงเรียน
    • ส่งเสริมให้นักเรียนร่วมรณรงค์บ้านและชุมชนปลอดบุหรี่
    • ส่งเสริมให้นักเรียนร่วมประชาสัมพันธ์ในช่องทางที่หลากหลาย
  • การดูแลช่วยเหลือนักเรียนไม่ให้สูบบุหรี่

    • คัดกรองและติดตามนักเรียนกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันการเริ่มสูบบุหรี่ของนักเรียน
    • มีความพร้อมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เลิกสูบบุหรี่
    • สามารถส่งต่อนักเรียนที่สูบบุหรี่เข้าสู่ระบบบริการเลิกบุหรี่ตามความเหมาะสม
  • การมีกิจกรรมร่วมระหว่างโรงเรียนกับชุมชน

    • มีกิจกรรมสร้างความตระหนักเรื่องบุหรี่ร่วมกับชุมชน
    • ผลักดันให้ผู้นำชุมชนมีนโยบายสนับสนุนการดำเนินงานชุมชนปลอดบุหรี่
    • ชี้แจงและขอความร่วมมือร้านค้าในชุมชนไม่ขายบุหรี่ให้กับเยาวชน